วันศุกร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2553

การบ้านครั้งที่4 วิชาcontemporary



หอนาฬิกาเชียงราย


หอนาฬิกาเชียงราย หอนาฬิกาเปลี่ยนสี ที่ออกแบบสร้างสรรค์โดยอาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ศิลปินแห่งชาติชาวเชียงรายหรือผู้ที่สร้างความวิจิตรงดงามของวัดร่องขุ่น นั่นเอง หอนาฬิกาแห่งนี้ สร้างเพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถและเพื่อร่วมสมโภชเมืองเชียงราย หอนาฬิกาพุทธศิลป์หรือหอนาฬิกาเปลี่ยนสีแห่งนี้ สร้างแทนที่หอนาฬิกาอาคารเดิมซึ่งปัจจุบันได้ ย้ายไปที่ตลาดสดเทศบาลแทน ใกล้กับโรงรับจําานําาอยู่ห่างกันเพียง 500 เมตร เท่ากับว่าที่เชียงรายมี หอนาฬิกาถึง 2 แห่ง
หอนาฬิกาอาคารใหม่นี้มีความวิจิตรอลังการ มีสีเหลืองทองเปล่งประกายระยิบระยับตามแบบฉบับ การก่อสร้างโดยฝีมืออาจารย์ เฉลิมชัย ใช้เวลาในการก่อสร้างนานถึง 5 ปี ปัจจุบันหอนาฬิกา เปลี่ยนสีแห่งนี้กลายเป็นจุดท่องเที่ยวและเป็นไฮไลท์ในยาม ค่ําาคืนของนักท่องเที่ยวที่ได้มาเยือน เชียงราย ทุกวันเวลา 19.00 20.00 และ 21.00 น. นักท่องเที่ยวจําานวนมากจะมารอชมความ งดงามของหอนาฬิกาเปลี่ยนสี เมื่อถึงเวลานั้นหอนาฬิกาจะเปลี่ยนสี จากสีทองเป็นสี แดง เหลอง ส้ม เขียว ชมภูและสีอื่นๆ พร้อมกับเสียงดนตรีบรรเลงเพลงเชียงรายรําาลึก บทเพลงอันมีความหมาย ของเชียงรายดังเช่น ณ ราตรีหนึ่ง ซึ่งยังฝังใจ เชียงรายฟ้าแจ่ม จบด้วย เมื่อคืนเดือนหงาย นิยาย สวาท บาดหัวใจไม่ลืม เป็นเพลงที่ได้ฟังคราวใดก็ไพเราะทุกครั้งไป ท่านสามารถไปชมความงดงาม ของหอนาฬิกาเปลี่ยนสีเชียงราย ได้ทุกวันเวลา่1 ทุ่ม 2 ทุ่ม และ 3 ทุ่ม การแสดงแต่ละครั้งใช้เวลา ประมาณ 10 นาที


ที่ชอบผลงานชิ้นนี้เพราะคิดว่าผลงานชิ้นนี้เป็น การออกแบบแบบไทยร่วมสมัยชิ้นหนึ่งโดยที่ตอ นที่ดูผ่านๆเราจะเห็นว่าเป็นการออกแบบแบบ ไทยมากๆแต่พอได้ไปดูในช่วงเวลาที่มีการแสดง แล้วสิ่งที่เกิดขึ้นคือลูกเล่นต่างๆในยุคสมัยนี้คือ การนําาเอา แสง สี เสียง มาใช้ในงานด้วยโดยไม่ ได้เป็นแค่ประติมากรรมที่ทําาขึ้นมาสวยๆเพียง อย่างเดียว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น